ปฏิทินของฉัน

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติอาหารไทย


สมัยสุโขทัย
อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึก และวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับข้าว ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า “แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตงและน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน

สมัยอยุธยา
สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออก จากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่าย ยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกง และคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกะทิมากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มากขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา หลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติต่าง ๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซีย และฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆ และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลายอยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด
สมัยธนบุรี
จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2 ของไทย ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอาหารไทยจากกรุงสุโขทัยมาถึงสมัยอยุธยา และสมัยกรุงธนบุรี และยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยคงจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร์ โดยผ่านทางหน้าที่ราชการและสังคมเครือญาติ และอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีนสมัยรัตนโกสินทร์การศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยในยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้ คือ ยุคที่ 1 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และยุคที่ 2 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน
สมัยรัตนโกสินทร์
ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2394) อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรี แต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเภท คือ นอกจากมีอาหารคาว อาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีนมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทย ในที่สุด จากจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ ในงานสมโภชน์ พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ได้แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย เช่น ผัก น้ำพริก ปลาแห้ง หน่อไม้ผัด แล้วยังมีอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลาม และมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากหมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยม แต่คนจีนนิยมบทพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงกล่าวถึงอาหารคาวและอาหารหวานหลายชนิด ซึ่งได้สะท้อนภาพของอาหารไทยในราชสำนักที่ชัดเจนที่สุดซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะของอาหารไทยในราชสำนักที่มีการปรุงกลิ่น และรสอย่างประณีต และให้ความสำคัญของรสชาติอาหารมากเป็นพิเศษ และถือว่าเป็นยุคสมัยที่มีศิลปะการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ทั้งรส กลิ่น สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติให้เป็นอาหารไทย จากบทพระราชนิพนธ์ทำให้ได้รายละเอียดที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของอาหารคาวหรือกับข้าวและอาหารว่าง ส่วนทีเป็นอาหารคาวได้แก่ แกงชนิดต่างๆ เครื่องจิ้ม ยำต่างๆ สำหรับอาหารว่างส่วนใหญ่เป็นอาหารว่างคาว ได้แก่ หมูแนม ล่าเตียง หรุ่ม รังนก ส่วนอาหารหวานส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ทำด้วยแป้งและไข่เป็นส่วนใหญ่ มีขนมที่มีลักษณะอบกรอบ เช่น ขนมผิง ขนมลำเจียก และมีขนมที่มีน้ำหวานและกะทิเจืออยู่ด้วย ได้แก่ ซ่าหริ่ม บัวลอย เป็นต้น นอกจากนี้ วรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างมากรวมทั้งเรื่องอาหารการกินของชาวบ้าน พบว่ามีความนิยมขนมจีนน้ำยา และมีการกินข้าวเป็นอาหารหลัก ร่วมกับกับข้าวประเภทต่างๆ ได้แก่ แกง ต้ม ยำ และคั่ว อาหารมี ความหลากหลายมากขึ้นทั้งชนิดของอาหารคาว และอาหารหวานสมัยรัตนโกสินทร์

ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2394 - ปัจจุบัน) ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก และมีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นในบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน จดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้น เป็นต้น และยังมีบันทึกต่างๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติ และบันทึกที่เป็นทางการอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะของอาหารไทย ที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็น กับข้าวอาหารจานเดียว อาหารว่าง อาหารหวาน และอาหารนานาชาติ ทั้งที่เป็นวิธีปรุงของราชสำนัก และวิธีปรุงแบบชาวบ้านที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหารไทยบางชนิดในปัจจุบันได้มีวิธีการปรุงหรือส่วนประกอบของอาหารผิดเพี้ยนไปจากของดั้งเดิม จึงทำให้รสชาติของอาหารไม่ใช่ตำรับดั้งเดิม และขาดความประณีตที่น่าจะถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของอาหารไทย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.
ชื่อสามัญ : Blue Pea, Butterfly Pea
วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่น : แดงชัน (เชียงใหม่); อัญชัน (ภาคกลาง); เอื้องชัน (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ยาว 1-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-9 ใบ รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-5 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีน้ำเงิน ม่วงหรือขาว ตรงกลางกลีบสีเหลืองหม่นขอบสีขาว ผลเป็นฝัก รูปดาบ โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย แตกเป็น 2 ฝา เมล็ดรูปไต จำนวน 6-10 เมล็ดส่วนที่ใช้ :
กลีบดอกสดสีน้ำเงิน จากต้นอัญชันดอกสีน้ำเงิน
รากของต้นอัญชันดอกขาว
สรรพคุณและวิธีใช้ :
ดอกสีน้ำเงิน ใช้เป็นสีแต่งอาหาร ขนมใช้กลีบดอกสด ตำเติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นเอาน้ำออก จะได้น้ำสีน้ำเงิน (Anthocyanin) ใช้เป็น indicator แทน lithmusถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย จะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู
รากต้นอัญชันดอกสีขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย
สารเคมี : anthocyanin

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

การ์ตูนธรรมมะสอนใจ


ประโยชน์ของสมุนไพร



1. ใสกัดน้ำช้มันหอมระเหย สมุนไพรในกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ในตัว สามารถนำมาสกัดโดยวิธี นำมากลั่น ซึ่งจะมีกลิ่นและปริมาณที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพร สมุนไพรที่น้ำมันหอมระเหยที่รู้จัก กันดี ได้แก่ ตะไคร้หอม น้ำมันตะไคร้หอมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ แชมพู น้ำหอม และสารไล่แมลง ไพล น้ำมันไพล ใช้ในผลิตภัณฑ์ครีมทาภายนอก ลดการอักเสบฟกช้ำ กระวาน น้ำมันกระวนนใช้แต่งกลิ่นเหล้า เครื่องดื่มต่าง ๆ และอุตสาหกรรมน้ำหอม พลู น้ำมันพลู ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ หรือเจลทาภายนอกแก้อาการคัน
2. ใช้เป็นยารับประทาน มีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคต่าง ๆ เช่น ได้แก่ แก้ไข เจ็บคอ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร แก้ท้องอึด ท้องเฟ้อ กระเพรา ไพล ขิง ระงับประสาท ขี้เหล็ก ไมยราพ ลดไขมันในเส้นเลือด คำฝอย กระเจี๊ยบแดง กระเทียม
3. ใช้เป็นยาทาภายนอก เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำบัดโรคที่เกิดตามผิวหนัง รวมทั้งแผลที่เกิดในช่องปาก ได้แก่ รักษาแผลในปาก บัวบก หว้า โทงเทง ระงับกลิ่นปาก ฝรั่ง กานพลู แก้แพ้ ผักบุ้งทะเล เสลดพังพอน ตำลึง เท้ายายม่อม รักษาแผลน้ำร้อนลวก บัวบก ยาสูบ ว่านหางจรเข้ งูสวัด ตำลึง พุดตาน ว่านมหากาฬ เสลดพังพอน
4.ใช้ทำเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม เป็นเครื่องดื่มที่สกัดจากธรรมชาติที่ยังให้ประโยชน์ในการรักษาโรค ควบคู่ไปด้วย ได้แก่ บุก ให้ประโยชน์ในการดูดจับไขมันจากเส้นเลือด ลดน้ำหนัก ส้มแขก ดูดไขมัน ลดน้ำหนัก หญ้าหนวดแมว ลดน้ำหนัก บำรุงสุขภาพ
5. ใช้ทำเครื่องสำอางค์ มีสมุนไพรหลายชนิดในปัจจุบันที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ และได้รับความ นิยมอย่างดี เนื่องจากผู้ใช้มั่นใจว่าปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมี ได้แก่ ว่านหางจรเข้ อัญชัน มะคำดีควาย โดยนำมา ใช้เป็นส่วนผสมของแชมพู ครีมนวดผม สบู โลชั่นบำรุงผิว
6. ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช มักเป็นสมุนไพรจำพวกที่มีฤทธิ์เบื่อเมา หรือมีรสขม ข้อดีคือไม่มีฤทธิ์ตกค้าง ที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สะเดา ยาสูบ ตะไคร้หอม ไพล เป็นต้น
7. ใช้บริโภคเป็นอาหารและเครื่องเทศ สมุนไพรในกลุ่มนี้จัดว่าเป็นพืชผักสมุนไพร นั่นเองสามารถนำมารับประทาน ให้คุณค่าทางอาหาร เพิ่มรสชาติ ดับกลิ่นคาว และยังช่วยย่อยอาหาร ได้แก่ กระเพรา โหระพา แมงลัก ผักชี สะระแหน่ ขิง ข่า กระชาย บางชนิดเป็นพืชผักสมุนไพรเมืองหนาว เช่น พาร์สเร่ย์ หรือผักชีฝรั่ง เฟนเนล (ผักชีลาว) เปบเปอร์มิ้นท์ ออริกาโน่ ทีม ไชฟ์ ดิล มาร์เจอร์แรม เซจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชพุ่มเตี้ย ใช้ส่วนของใบมาทานสด หรือแก้ง เป็นเครื่องเทศ ชูรส เป็นต้น
8.ปลอดภัย สมุนไพรส่วนมากมีฤทธิ์อ่อน ไม่เป็นพิษหรือมีอาการข้างเคียงมาก แตกต่างกับยาแผน ปัจจุบันที่บางครั้งจะมีฤทธิ์เฉียบพลันถ้าบริโภคเกินขนาดเพียงเล็กน้อยอาจเสียชีวิตได้
9. ประหยัด ราคาของสมุนไพรถูกกว่ายาแผนปัจจุบันมาก เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว จึง ควรอย่างยิ่งที่เราจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ทั้งยังช่วยกันลดดุลการค้าที่เสียบเปรียบต่างประเทศ เป็นการสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของชาติอีกด้วย
10. เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกล คนไข้ที่อยู่ตามชนบท บางครั้งไม่สามารถมารับบริการจากสถานบริการทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้ควรใช้สมุนไพรที่เชื่อถือได้รักษาโรค
11. ไม่ต้องกลัวปัญหาขาดแคลนยา ปัจจุบันมียาหลายตัวที่ทำมาจากวัตถุเคมีที่ได้จากผลิตผลของน้ำมัน ซึ่งปัจจุบันน้ำมันก็เริ่มจะขาดแคลนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกกระทบกระเทือนรวมไปถึงการรักษาโรค เราจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับยาสมุนไพรและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น
12. เป็นพืชเศรษฐกิจ ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรที่ใช้ในประเทศ และเพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง และต้องคำนึงถึงผลผลิตที่มีคุณภาพดีและต้นทุนต่ำสำหรับการส่งออกในรูปของสารสกัด ทำให้ได้ราคาดีกว่าการส่งออกในรูปวัตถุดิบ

เที่ยวดอยสุเทพ


ดอยสุเทพ พระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

เดินทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่นับตั้งแต่โบราณกาล นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่จังหวัดนี้จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ ตามประวัติแห่งดอยสุเทพนั้นเชื่อกันว่า เดิมภูเขาแห่งนี้เป็นที่อยู่ของฤาษีนามว่า "สุเทวะ" ซึ่งตรงกับคำว่าสุเทพอันเป็นที่มาของชื่อดอยสูงแห่งนี้ โดยวัดพระธาตุดอยสุเทพนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 6 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้ทรงอัญเชิญมาจากเมืองศรีสัชนาลัยตามตำนานเล่าว่า พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงแยกพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นสองส่วน โดยอัญเชิญองค์หนึ่งบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนอีกองค์หนึ่งได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างมงคล โดยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงตั้งจิตอธิษฐานเสี่ยงทายว่าหากช้างเชือกนั้นหยุดลงตรงที่ใดก็จะให้สร้างพระธาตุขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ซึ่งช้างเชือกดังกล่าวได้มาหยุดลงตรงยอดดอยสุเทพแห่งนี้ โดยทำทักษิณาวรรตสามรอบก่อนที่จะล้มลง (ตาย) ดังนั้นพระเจ้ากือนาธรรมิกราชจึงทรงรับสั่งให้สร้างพระบรมธาตุอันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ ณ ยอดดอยสุเทพ อยู่คู่ฟ้าคู่ดินเชียงใหม่มานับแต่นั้น
รอบองค์พระบรมธาตุ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๕ ประการ ได้แก่

1. ฉัตร ๔ มุม ทำด้วยทองเหลือง สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ มีความหมายว่า ฉัตรเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็น ซึ่งแสดงให้ถึงความสงบร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปในทั้ง ๔ ทิศ

2. สัตติบัญชร หรือ รั้วหอก ที่อยู่รอบพระธาตุ ซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุของโทณพราหมณ์ เมื่อภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์แย่งพระบรมสารีริกธาตุของเมืองต่างๆ เพื่อนำไปไว้บูชาประจำเมือง โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่ง โดยให้ทหารถือหอกรอบล้อมพระบรมสารีริกธาตุไว้ เพื่อป้องกันการแย่งชิง จึงเป็นที่มาของรั้วหอกรอบพระบรมธาตุ

3. หอยอ ลักษณะเหมือนวิหารขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ ด้าน ของพระบรมธาตุ ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ มีความหมายถึงการบูชาหรือสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า (ยอคุณ)

4. หอท้าวโลกบาล ซึ่งเป็นหอยอดแหลมขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ มุมของพระบรมธาตุ หมายถึง ที่ประดิษฐานของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาสิ่งสำคัญต่างๆ ๔ ทิศ ทำหน้าที่รักษาพระบรมธาตุ ได้แก่ 1. ท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ มียักษ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่เฝ้ารักษาทิศเหนือ 2. ท้าวธตรัฐ มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาทิศตะวันออก 3. ท้าววิรูฬปักข์ มีฝูงนาคเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศตะวันตก 4. ท้าววิรุฬหก มีอสูรเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศใต้

5. ไหดอกบัว หรือ ปูรณะฆะฏะ (ปูรณะ แปลว่า เต็ม,สมบูรณ์, ฆฏะ แปลว่า หม้อ) แปลว่า หม้อที่แสดงถึงความสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เคล็ดลับเพื่อสุขภาพ


เคล็ดลับเพื่อสุขภาพและความงามที่ผู้หญิงควรรู้


บันไดสู่สาวสมองใส
คนเราเมื่ออายุมากขึ้น ความจำแทนที่จะเพิ่มขึ้นแต่
กลับลดลงสำหรับคุณๆ ที่กลัวว่าจะกลายเป็นคนอัลไซเมอร์
ควรจะเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มความจำค่ะ อาหารที่มีประโยชน์
ในการบำรุงสมองนั้น จำพวกผัก ได้แก่ บรอกโคลี่ มะเขือเทศ
เมล็ดฟักทอง ส่วนธัญพืชต่างๆ ได้แก่ รำข้าว ข้าวซ้อมมือ
ไขมันจากปลา ซีเรียลถั่ว บูลเบอร์รี่ อาหารจำพวกนี้ล้วนแต่
ช่วยบำรุงสมองทำให้ความจำดีขึ้นค่ะ


กินตามใจให้ได้หุ่นสวย
การรักษาสุขภาพร่างกายให้หุ่นดีด้วยการบริหารการกิน
ทำได้ยากเหลือเกิน เพราะจะต้องควบคุมในเรื่องของการรับประทาน
ไปหมด แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณหุ่นสวยได้โดยไม่ต้องงดอาหาร
ก็คือ ให้ัรับประทานอาหารเ่ช่นเดิม แต่ให้หันมาใส่ใจความรู้สึก
ให้มากขึ้น เมื่อคุณรู้สึกอิ่มเมื่อไหร่ให้คุณหยุดทานทันที


อาหารเช้าคือมื้อที่สำคัญที่สุด
ในสังคมปัจจุบันนี้เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ ที่คนส่วนใหญ่มิได้ให้ความสำคัญ
กับอาหารเช้า เนื่องจากต้องเร่งรีบแข่งกับเวลาเพื่อไปเรียน หรือ ไปทำงาน
คนไทยเราจะให้ความสำคัญกับอาหารเย็น เน้นว่าเป็นมื้อที่ต้องรับประทาน
อาหารหนักๆ มากกว่ามื้ือกลางวัน ส่วนมื้อเช้านั้นบางคนข้ามไปเลย
บางคนก็ดื่มกาแฟเพียง 1 ถ้วยเท่านั้น สังเกตให้ดีจะพบว่าคุณจะรู้สึกไม่สดชื่น
กระปรี้กระเปร่า ถ้ามื้อเช้าคุณไม่ได้ให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการ คือ
อาหารโปรตีนสูงและไขมันอย่างพอเพียง อาหารเช้าที่หนักเกินไปก็เป็นเรื่อง
ที่ไม่ถูกต้อง ร่างกายต้องการเพียงสารอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณไม่มากนัก
เพื่อที่คุณจะได้มีกำลังวังชา สมองปลอดโปร่ง กระปรี้กระเปร่า พลังงานจะอยู่
ในร่างกายคุณเป็นเวลานานและทำให้คุณไม่หิวบ่อยถ้าได้รับประทานอาหารเช้าที่ดี


ผมหงอกก่อนวัยกินอาหารช่วยได้
เมื่อคุณมีเส้นผมบางส่วนที่หงอกขาว ทั้งๆ ที่อายุยังไม่มากนักคุณแก้ไขด้วยการ
สาเหตุที่สำคัญมาจากการรับประทานอาหารใ็นมื้อเย็นดึกเกินไป
ย้อมสีผมซึ่งจะช่วยได้ดีพอควร แต่ก็ต้องย้อมกันเป็นประจำตลอดไปแน่นอน
และหนักเกินไป ดังนั้น การรับประทานมื้อดึกของคุณ
อาหารบางอย่างมีคุณสมบัติช่วยบำรุงเส้นผม เล็บมือ และผิวของคนเราอย่างได้ผล
ควรจะหลีกเลี่ยง น้ำอัดลม น้ำเย็น รวมทั้งเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ
เส้นผมหงอกนั้นเป็นเพราะขาดทองแดง กรดโฟลิก กรดแพนโทเทนิก และ พาบา
เพราะอาหารพวกนี้มีผลต่อระบบย่อยอาหารทำให้ลำไส้ทำงานหนักค่ะ
คุณสามารถแก้ไขเส้นผมที่หงอกขาวให้กลับมาดำสนิทดังเดิมได้ด้วยการรับประทาน
โยเกิร์ต ตับ และยีสต์ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องรับประทานปริมาณมากๆ ทุกมื้อ และ
ทุกๆ วันอย่างสม่ำเสมอ


น้ำผึ้งก็เป็นยาอายุวัฒนะ
สารอาหารสำคัญๆ ในน้ำผึ้งที่มีอยู่เต็มเปี่ยม ก็คือ
ในอาหารจานยำ หรือ จานผัดที่มีสะระแหน่โรยมาด้วยนั้น คุณควรจะรับประทานมากๆ
โปรตีน วิตามินบี 1 บี 2 บี5 และ บี12 ไบโอติน เหล็ก ทองแดง
เพราะ สะระแหน่ใบเล็กๆ กลิ่นแรงๆ นี่แหล่ะ มีคุณค่าสารอาหารไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
แมงกานีส ซิลิคอน แคลเซี่ยม โซเดียม โพแทสเซี่ยม ฟอสฟอรัส
สะระแหน่มีเมนทอล และน้ำมันหอมระเหย จึงช่วยกระตุ้นปลายประสาทผิวหนัง
กำมะถัน โบรมีน และคลอรีน น้ำผึ้งมีสรรพคุณทางยา ช่วยบำรุง
ช่วยขับเหงื่อลดคลายอาการหกเกร็งของกล้ามเนื้อ แก้อาการเป็นหวัดคัดจมูก
ร่างกายให้กระปรี้กระเปร่าแข็งแรง สดชื่น เพิ่มพลัง แก้เบื่ออาหาร
แก้ร้อนใน บำรุงสมองให้ปอลดโปร่งและช่วยให้ตาสว่าง คึกคักสดชื่น ไม่ง่วงซึม
บำรุงหัวใจ บำรุงข้อต่างๆ ช่วยให้นอนหลับสบาย น้ำผึ้งจัดเป็น
อาหารเสริมที่ดีที่คุณควรสนใจ หมั่นรับประทานเป็นประจำทุกๆ สัปดาห์
ก็จะช่วยบำรุงร่างกายให้มีสุขภาพดีอย่างที่คุณพิสูจน์ได้


สูตรผิวสวย


เคล็ดลับง่ายๆ ที่ทำให้ผิวของคุณสวยใส เพียงแค่นำโยเกิร์ต 1 ถ้วย
คลายจางลงไปได้ ด้วยการรับประทานอาหารทีุ่อุดมไปด้วยเซเลเนียม
ผงขมิ้น ผงไพร อย่างละ 1 ช้อนชา ผงนมสำหรับนวด 1 ซอง
เช่น หอยนางรม ปลาทูน่า ไก่งวง นม ซึ่งมีกรดโฟลิก
นำส่วนผสมทั้งหมดนี้มาผสมเข้าด้วยกัน แล้วนวดให้ทั่วทั้งใบหน้าและ
เมื่อรับประทานอาหารเหล่านี้แล้ว จะช่วยให้คุณมีอารมณ์แจ่มใส
ลำตัว พอกทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้ยน้ำเปล่า
ไม่หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย เนื่องจากการขาดกรดโฟลิก สารทริบโตแฟน
ทำเป็นประจำสัปดาห์ละครั้ง จะทำให้ผิวของคุณขาวสวยใส และ
มีผลให้เกิดความแปรปรวนในอารมณ์ และอาการทางจิตประสาทได้นั่นเอง
ดูมีน้ำมีนวลมากยิ่งขึ้นค่ะ

เต้นเพื่อความบันเทิง